เมื่อพูดถึงกองกำลังทหาร แน่นอนว่าก็มีการแบ่งออกเป็นหลายทัพ ในแต่ล่ะทัพนั้นต่างก็มีหน้าที่พิเศษของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันไป แน่นอนว่าในเรื่องของการฝึกถึงแม้การฝึกพื้นฐานจะเหมือนกัน แต่ในเรื่องของการฝึกชั้นสูง ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ล่ะบทบาท วันนี้เราจะชวนคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับข้อมูลทหารอากาศน่ารู้กัน ว่าจะมีข้อมูลไหนที่น่าสนใจ และคุณผู้อ่านอาจไม่เคยทราบมาก่อนก็ได้

ประวัติความเป็นมาของกองทัพอากาศไทย

โดยความเป็นมาของกองทัพอากาศไทยนั้น ถือกำเนิดขึ้นหลังจากประเทศฝรั่งเศสได้มีการจัดตั้งกองทัพอากาศของตนเองขึ้นมา สำหรับการจัดตั้งกองทัพอากาศไทยนั้น ใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปี อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้น เพราะเป็นกองทัพอากาศ แห่งแรกของเอเชีย ซึ่งมีการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญเกิดขึ้นมามากมาย อย่างเช่น ในการเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทย – อินโดจีน ฝรั่งเศส เป็นต้น ปัจจุบันนี้ มีกองบัญชาการของกองทัพอากาศไทย ตั้งอย่างน่าเกรงขามในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ความภาคภูมิใจกองทัพอากาศไทย คือ มีอิทธิพลทางอากาศในระดับสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นรองจากสิงคโปร์เท่านั้น  

นับตั้งแต่การก่อตั้ง หลังจากนั้นกองทัพอากาศไทยก็ได้พัฒนาอย่างมีคุณภาพเรื่อยมา สำหรับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ ๆคือ ชื่อในขณะนั้น คือ กองบินทหารบก ได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้กองบินทหารบก ได้รับการตั้งชื่อใหม่ กลายเป็นกรมอากาศยานทหารบก ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 จากการเจริญเติบโตของกองกำลังทางอากาศที่อยู่ในระดับดีเรื่อยมาก จึงได้รับการยกระดับอีกครั้งให้กลายเป็นกรมทหารอากาศ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 ที่เป็นการยกระดับขั้นสุดท้าย โดยได้รับการยกระดับให้หลายเป็น กองทัพอากาศ จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ โดยมีทั้งยศรวมทั้งเครื่องแต่งกายเป็นของตนเองอย่างเต็มรูปแบบ โดยในขณะนั้น นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ ได้ขึ้นแท่นเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก และจากนั้นจึงจัดตั้งให้เป็น วันกองทัพอากาศไป นับตั้งแต่อดีตกองทัพอากาศแห่งแดนสยาม ได้สร้างชื่อเสียงออกศึกทางด้านอากาศไว้มากมาย จนเป็นที่ล่ำลือไปทั่วผืนฟ้า หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว ก็ได้มีการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ตามด้วยสงครามอินโดจีน จนถึงขนาดสร้างหวาดกลัวให้กับเหล่าศัตรูได้มาก และยังคงรักษาความเกรียงไกรนั้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

หน้าที่ของทหารอากาศ สามารถแบ่งออกเป็น 2 เหล่าใหญ่ ๆ ได้แก่

1. เหล่ารบ ได้แก่

  • นักบิน
    • อากาศโยธิน โดยปฏิบัติภารกิจทางด้านการโจมตี ทั้งจากพื้นดินและจากอากาศ
    • ทหารพลร่ม ปฏิบัติภารกิจการรบพิเศษ, การรบแบบกองโจร รวมทั้งให้การช่วยเหลือการค้นหาเมื่อมีอุบัติเหตุ

2. เหล่าหลัก

  • เหล่าช่างอากาศ  ปฏิบัติงานช่างเกี่ยวกับอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นการ ซ่อมเครื่องบิน ดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ เครื่องบินบางรุ่น จำเป็นต้องมีช่างนั่งไปด้วย เช่น C130 ฮ. เป็นต้น
  • เหล่าสรรพวุธ มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ ซ่อมแซมอาวุธต่าง ๆ  หรือ บางสถานการณ์ยังต้องขึ้นไปยิงอาวุธด้วยตนเองอีกด้วย
  • เหล่าสื่อสาร แน่นอนว่าเรื่องการสื่อสารจะขาดไปไม่ได้ มีหน้าที่ติดต่อประสานงาน ทั้งเครื่องบินระหว่างเครื่องบิน ติดต่อกับฐานบิน และอื่น ๆ

ต้องการเป็นทหารอากาศ มาจาก 4 แหล่งด้วยกัน ได้แก่

1. โรงเรียนนายเรืออากาศ หลังจากเรียนจบสามารถสมัครเป็นศิษย์การบิน เพื่อเป็นนักบิน ทอ. ได้

2. นักเรียนจ่าอากาศ มียศเทียบเท่านายสิบ ทบ.

3. โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

4. สอบบรรจุ สาขาที่ไม่มีสอนใน โรงเรียนนายเรืออากาศ

ความน่าสนใจในความเป็นมาของอาชีพทหารอากาศ มีความล้ำลึกกว่าที่หลาย ๆ คนไม่เคยคาดคิดมาก่อน เมื่อคุณผู้อ่านทราบข้อมูลเหล่านี้แล้วอาจทำให้พอคลายความสงสัยไปได้บ้าง และเกิดความภาคภูมิใจในความเก่งของบรรพบุรุษไทยเป็นแน่แท้