กองทัพไทย

เราทุกคนรู้ดีว่ากองทัพไทยมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่อประเทศชาติมากแค่ไหน แม้ว่าในวันนี้ที่กระแสของโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว การทำศึกสงครามหรือการรุกรานเพื่อยื้อแย่งแผ่นดินกับผู้อื่นจะไม่มีให้เห็น แต่ความไม่สงบเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา มีทั้งแบบที่เรารู้แล้วก็ไม่รู้ กองทัพไทยจึงยังเป็นหน่วยงานที่ต้องมีและต้องพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

วิวัฒนาการของกองทัพไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของการสร้างกองทัพไทยขึ้นมาเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคที่เรามีการรับเอาวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามามากมาย มีการปรับปรุงบ้านเมืองครั้งใหญ่ ยกเลิกระบบศักดินาบางอย่างไป เรียกได้ว่าเป็นการเปิดประเทศเป็นครั้งแรก มีชาวต่างชาติเข้ามาในเชิงการค้ามากขึ้น แต่การสงครามก็ยังไม่ได้สิ้นสุดไปในเร็ววัน ทุกฝ่ายยังคงหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ ว่าจะมีใครลุกขึ้นมาเปิดศึกอีกหรือไม่ จึงจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีกองกำลังทางทหารที่แข็งแกร่งเอาไว้ อย่างน้อยๆ ก็เพื่อความอุ่นใจว่าเราจะไม่เดือดร้อนเมื่อมีเหตุไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น แล้วก็ยังสร้างความยำเกรงให้กับประเทศอื่นๆ ด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าวงานด้านการทหารได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน มีการนำวิทยาการใหม่ๆ จากตะวันตกมาใช้ด้วย แล้วก็เริ่มมีการเกณฑ์ทหารเกิดขึ่นในช่วง ร.ศ.124

เมื่อกำลังพลเพิ่มมากขึ้น อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ล้ำสมัยมากขึ้น กองทัพไทยจึงเริ่มขยายเป็นกองทัพบกและกองทัพเรือ อำนาจในการบริหารและจัดการแยกออกจากกันชัดเจน ขณะเดียวกันก็มีการก่อตั้งสถานศึกษาของกลุ่มทหารมหาดเล็กขึ้นด้วย ซึ่งเปิดทำการมายาวนานจนถึงปัจจุบัน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนายเรือ เป้าหมายของสถานศึกษาแห่งนี้ก็เพื่อผลิตทหารที่ทำหน้าที่ประจำการในกองทัพ สร้างคนที่มีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการปกป้องประเทศ หลังจากนั้นพอเข้าสู่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นไป กองทัพไทยก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก คือมีกองทัพอากาศแยกออกมา ตอนนี้จึงเรียกรวมกันว่า “กองกำลัง 3 เหล่าทัพ” ผลงานที่สำคัญก็มีทั้งการปกป้องประเทศจากการรุนรานพร้อมจัดการกับความไม่สงบภายใน และได้ไปช่วยเหลือพันธมิตรในศึกสงครามครั้งสำคัญอื่นๆ ของโลกด้วย

การมีส่วนร่วมของกองทัพไทยในความขัดแย้งต่างๆ            

– สงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพไทยถูกส่งไปร่วมรบกับพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก การศึกค่อนข้างยืดเยื้อแต่สุดท้ายประเทศไทยก็เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีอิสระ ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร

– สงครามไทย-ฝรั่งเศส เกิดขึ้นในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นการแย่งชิงดินแดนคืนจากการยึดของฝรั่งเศส กินเวลาประมาณ 1 ปีเต็ม

– สงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพไทยจำเป็นต้องเข้าร่วมอย่างเสียไม่ได้ โดยยอมให้ทางญี่ปุ่นได้ใช้กองกำลังและทรัพยากรของเราในการต่อสู้ แต่เมื่อถูกรังควาญมากเข้า ประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า เราก็ประกาศสงครามกับพันธมิตร สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 ปี มีความสูญเสียเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน แต่ท้ายที่สุดเราก็รอดพ้นมาได้

– สงครามเกาหลี เป็นการช่วยเหลือพันธมิตรของกองทัพไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยส่งกรมทหารราบไปร่วมรบเกือบ 1300 คน

– สงครามเวียดนาม ต้นเหตุเกิดจากความต้องการรวมเวียดนามให้เป็นประเทศเดียว ทางเราได้ส่งกองกำลังไปช่วยพันธมิตรเช่นเคย

– สงครามชายแดนไทย-ลาว ข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านครั้งนี้เกิดจากลาวเข้ายึดพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกของเรา จึงเกิดการปะทะขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนล้มตายพอสมควร เวลาผ่านไปเกือบปีเราจึงส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตี ส่งผลให้มีการเจรจาเพื่อยุติการยิงปะทะระหว่างกัน

– ความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ นี่เป็นข่าวคราวที่เรายังได้ยินกันมาถึงปัจจุบัน ในตอนแรกเป็นการเปิดศึกแบบเผชิญหน้า แต่ต่อมาก็เป็นการลอบทำร้ายที่เรายังไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร